เมนู

เหมือนชายมือซ้ายตะพานน้ำค้าง มือขวาจับก้อนเหล็กแดง และจะถามรวมว่ามือทั้งสอง
ของชายนั้นจับร้อนหรือจับเย็น และถามเช่นนี้บุคคลจะบอกมิรู้ที่จะบอกได้ บพิตรจงทราบพระ
ทัยด้วยประการนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลราชได้ฟังก็มีประสามเสื่อมใส พระทัยท้าว เธอก็โสมนัส
ปรีดาด้วยปัญหาพยากรณ์ของพระนาคเสนผู้วิเศษ
สุขเวทนาปัญหา คำรบ 5 จบเท่านี้

นามรูปปฏิสันธิคณหปัญหา ที่ 6


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามอรรถปริศนาอื่นไปอีก
เล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสน กึ ปฏิสนฺธิยติ ธรรมสิ่งไรให้สัตว์โลกปฏิสนธิ
เกิดมา นิมนต์วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
สัตว์โลกที่เกิดมานี้นามรูปให้ปฏิสนธิ ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการซักว่านามรูปนี้แต่งให้สัตว์ปฏิสนธิ
หรือประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า หามิได้ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประ
เสริฐ สัตว์โลกหญิงชายเกิดมาในโลกนี้ กระทำกรรมคือกุศลกรรมและอกุศลกรรม คือกระทำ
บาปบุญ อิมินา นามรูเปน ด้วยนามรูปนี้ บุญสิ่งนั้นกรรมสิ่งนั้น ให้สัตว์มนุษย์หญิงชายนั้น
ปฏิสนธิเป็นนามรูปอันอื่น อย่างนี้แหละเรียกว่านามรูปให้ปฏิสนธิ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากรตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้
เป็นเจ้า ถ้าบุคคลมิได้เกิดด้วยนามรูปนี้ และเกิดด้วยบุญและบาปที่กระทำไว้ในนามรูปนี้แล้ว
ผู้นั้นจะพ้นจากบาปกรรมหรือไม่
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ถ้าว่าไม่เกิดแล้ว
ผู้นั้นก็พ้นจากบาปจากกรรม ถ้าว่ายังจะเกิดไปอีกแล้ว จะได้พ้นจากบาปกรรมหามิได้ ขอถวาย
พระพร

พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าจงกระทำ
อุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปาน
ดุจบุรุษผู้หนึ่งไปลักผลมะม่วงของเขามา ส่วนว่าเจ้าของมะม่วงนั้นจับบุรุษโจรนั้นได้ จึงเอาตัว
ไปทูลกับสมเด็จพระบรมกษัตริย์ว่า โจรนี้ลักมะม่วงเกล้ากระหม่อมฉัน โจรนั้นก็ทูลบ้างว่า
ขอพระราชทาน เกล้ากระหม่อมฉันจะได้ลักหามิได้ มะม่วงเข้าของนี้เมื่อแรกปลูกนั้นอย่างอื่น
ปลูกไว้เมื่อเป็นต้นมีผลออกเป็นอย่างอื่นไป เกล้ากระหม่อมฉันก็เก็บเอามา จะได้ลักลูกมะม่วง
ที่บุรุษผู้นี้ปลูกหามิได้ และบุรุษโจรนั้นให้การเป็นสำนวนดังนี้จะพ้นโทษหรือประการใด ขอถวาย
พระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า บุรุษโจรนั้นให้การ
เป็นสำนวนดังนั้น จะได้พ้นตัวหามิได้ คงจะต้องปรับไหมเป็นแท้
พระนาคเสนจึงถามว่า เหตุไฉนจึงต้องปรับไหมเล่า
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า มะม่วงเขาปลูกไว้จนมีผล บุรุษโจรรับว่าไปเอา
ผลมะม่วงนั้นมาแล้ว ให้การเป็นสำนวนว่าบุรุษเจ้าของปลูกไว้ก็จริง ก็แต่ผลมะม่วงเดิมนั้นไม่ได้
ลัก ที่ข้าเอามานี้ผลมะม่วงเป็นต้นเกิดขึ้นมาใหม่ต่างหาก เป็นผลมะม่วงอื่นมิใช่เป็นผลมะม่วงเดิม
ข้าเอามานี้ผลมะม่วงใหม่ บุรุษโจรให้การฉะนี้ก็เป็นอันรับในคำหา ซึ่งผลมะม่วงที่โจรลักมาก็
เกิดแต่ผลมะม่วงเดิม เหตุกระนี้แหละควรจะลงโทษปรับไหมแก่โจรนั้น
พระนาคเสนจึงว่า ความนี้ฉันใด มนุษย์หญิงชายกระทำบาปกรรมสิ่งไรด้วยนามรูปใน
ปัจจุบันชาตินี้ ครั้นกระทำกาลกิริยาตายไปในปรโลก เกิดเป็นรูปธรรมนามธรรมอื่น จะได้พ้น
ไปจากบาปกรรมหามิได้ เปรียบดังโจรลักอัมพผลนั้น ขอถวายพระพร
พระนาคเสนมีเถรวาจาอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปาน
ดุจบุรุษผู้หนึ่งไปลักเกี่ยวข้าวสาลีในนาเขา เจ้าของเขาจับตัวไปปกราบทูลแก่บรมกษัตริย์ว่า
บุรุษผู้นี้เป็นโจรลักข้าวสาลีในนา บุรุษโจรจึงทูลว่าข้าวสาลีซึ่งบุรุษผู้นี้ปลูกหว่านลงไว้ ข้าพระ
พุทธเจ้ามิได้ลัก นี่ข้าพระพุทธเจ้าเอารวงข้าวสาลีอันเกิดต่อมาต่างหาก นี่แหละบพิตรพระ
ราชสมภาร เมื่อโจรนั้นให้การฉะนี้ โทษจะมีแก่โจรนั้นหรือประการใด

พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า โทษปรับไหมคงจะมี
พระนาคเสนจึงซักว่า โทษปรับไหมมีด้วยเหตุอย่างไร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ข้าวเขาหว่านไว้ มีเมล็ดรวงขึ้น โจรนั้นไปลักเอา
รวงข้าวนั้นมาแล้ว กลับว่ารวงข้าวนั้นมิใช่ของบุรุษเจ้าของข้าว บุรุษเจ้าของข้าวนั้นหว่านลงก็
เป็นต้นเป็นลำกลายเป็นอื่นไป ซึ่งโจรให้การต้องในคำหาดังนี้ เหตุกระนี้โยมจึงว่า โจรนั้นไม่พ้น
โทษปรับไหม
พระนาคเสนจึงว่า ความเปรียบเทียบนี้ฉันใดก็ดี บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
มนุษย์ชายหญิงซึ่งเกิดมาเป็นรูปธรรมนามธรรมกระทำบาปกรรมไว้ในชาตินี้ จะมีรูปธรรม
นามธรรมไปชาติหน้า เป็นรูปธรรมนามธรรมอื่น จะพ้นจากบาปกรรมหามิได้ อุปไมยเหมือน
โจรไปลักข้าวเขาแล้ว กลับว่าเอาข้าวอื่นมา มิได้พ้นโทษปรับไหมฉะนั้น
อนึ่งเล่าเปรียบดังบุรุษผู้หนึ่งไปลักตัดอ้อยเขา บุรุษเจ้าของจับตัวได้ จึงมัดเอาตัวเข้าไป
กราบทูลแก่พระมหากษัตริย์ว่า โจรคนนี้ลักอ้อยกระหม่อนฉัน โจรนั้นก็ทูลบ้างว่า ขอพระราช-
ทาน เดิมบุรุษผู้นี้เอายอดอ้อยมาปลูกไว้ ยอดอ้อยก็แตกหน่อกอใบเป็นต้นเป็นลำเป็นอันอื่นไป
และข้าพระพุทธเจ้าจะได้ลักอ้อยเดิมแรกปลูกหามิได้ อ้อยนี้กลายไป ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้เอา
อ้อยอื่นมา นี่แหละมหาบพิตร คำโจรทูลให้การฉะนี้ จะมีโทษปรับโทษหรือหามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลราชจึงตรัสว่า คงจะมีโทษปรับไหมเป็นแท้
พระนาคเสนจึงซักถามว่า เหตุไฉนบพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสว่า อ้อ เพราะว่าให้การต้องในคำหา และโจรแก้ว่าอ้อยนั้น
เป็นอ้อยอื่น อ้อยเดิมนั้นเป็นขึ้นกลายเป็นอ้อยอื่น อ้อยเดิมนั้นตัวหาได้ลักไม่ และให้การกระนี้
จะพ้นตัวหามิได้ไปลักอ้อยของเขามาแล้วว่าข้าเอาอ้อยอื่นมา จะได้พ้นโทษหามิได้ น่ะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงว่าเล่าว่า ซึ่งบุคคลกระทำบาปกรรมไว้ชาตินี้ก็เหมือนกัน กรรมคงจะ
ตามตนไป ถึงจะเกิดในโลกเบื้องหน้าเป็นรูปธรรมนามธรรมอื่น จะได้พ้นจากบาปกรรมหามิได้
ดุจบุรุษโจรลักอ้อยเขามาแล้วกลับว่าอ้อยอื่น มิได้พ้นจากโทษนั้น
อนึ่งดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจบุรุษผู้หนึ่งนั้น เหมนฺตเก กาเล ฤดูนั้น
เป็นเหมันฤดูหนาว กลางหนาวหมอกลงนี่กระไร บุรุษผู้นั้นจึงเอาไฟมาก่อนกองขึ้นผิง แล้วทิ้งไว้
มิได้ดับเสีย ไฟนั้นก็ลามเลียงไหม้ใบไม้และหญ้าลามมาไหม้ข้าวในนาเสียหลายกอง เขตฺคสามิโก
ฝ่ายเจ้าของนารู้ว่าบุรุษนั้นเป็นต้นไฟ จึงจับเอาบุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแด่ บรมกษัตริย์ว่าบุรุษ

ผู้นี้แหละเผาข้าวในนากระหม่อมฉัน บุรุษต้นไฟนั้นก็ทูลให้การว่า กระหม่อม ฉันจะได้เผานา
นายคนนี้หามิได้เดิมกระหม่อมฉันกองไฟผิงแล้วทิ้งไว้ไฟนี้ก็ลามไปไหม้ใบหญ้ากลายมาเป็นไฟอื่น
จะได้เป็นไฟที่กองผิงหามิได้ นี่แหละเมื่อบุรุษต้นไฟให้การฉะนี้จะมีโทษหรือหามิได้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลราชประภาษว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โจรให้การฉะนี้เล่า
จะพ้นผิดหามิได้
ขอถวายพระพร เหตุไร
อ้อเหตุว่าบุรุษนั้นเป็นต้นไฟ
ฉันใดก็ดีมหาบพิตรผู้ประเสริฐ บุคคลเกิดมาเป็นรูปธรรมนามธรรมได้กระทำบาปกรรม
ไว้ ครั้นสิ้นชีวิตดับจิตไปเกิดเป็นรูปธรรมนามธรรมอื่นไป จะได้พ้นจากบาปกรรมที่ตนกระทำหา
มิได้ มีอุปไมยเหมือนบุรุษต้นไฟอันมิได้พ้นโทษนั้น ขอบพิตรจงทราบในพระบวรราชสันดาน
ด้วยประการดังนี้
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า โยมยังไม่สิ้นวิมติสงสัย
นิมนต์ผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ยิ่งขึ้นอีกก่อน
ฝ่ายพระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร โกจิเทว
ปุริโส เปรียบดุจบุรุษผู้หนึ่งจุดซึ่งประทีปเข้าไปรับประทานอาหารที่โรงร้านของอาตมา ครั้น
บริโภคอาหารแล้วก็คมนาการไป ส่วนว่าไฟประทีปนั้นก็ไหม้หญ้าลามไปไหม้ฝาเรือนอันหนึ่ง
เปลวไฟก็ทะลึ่งลุกลามไหม้ซึ่งเรือนน้อยเรือนใหญ่ ทีนั้นก็ไหม้บ้านนี้ทั้งนคร ชาวบ้านจึงพา
กันมาเอาตัวบุรุษต้นไฟนั้นไปตามอาชญาไฟ บุรุษผู้นั้นจึงว่าไฟที่ไหม้บ้านนี้ ไฟไหม้หญ้าดอก
ไม่ใช่ไฟประทีปของข้าที่จุดไว้ เมื่อบุรุษต้นไฟให้การกระนี้ จะไม่มีโทษหรือ บพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสว่า บุรุษที่ตามประทีปต้นไฟให้การ
นั้น จะได้พ้นโทษหามิได้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ฉันใดก็ดี บุคคลที่เกิดมาเป็นรูปธรรมนามธรรมนี้ กระทำ
บาปไว้ ครั้นเมื่อตายไปนามรูปนี้จะวิปริตแปรปรวนไปเป็นนามรูปอื่น คือจะไปปฏิสนธิเกิดใหม่
แล้วจะเกิดต่อไปอีกก็ดี จะได้พ้นจากบาปกรรมหามิได้ ดุจบุรุษจุดประทีปกินข้าวให้ไฟไหม้บ้านนั้น
ขอบพิตรพระราชสมภารจงทราบในพระบวรสันดาน ด้วยประการดังนี้

พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสว่า ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าอุปมานี้
โยมยังวิมติสงสัยอยู่ นิมนต์กระทำอุปมาให้ยิ่งไปกว่านี้
พระนาคเสนจึงมีวาจาถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบ
ปานดุจบุรุษผู้หนึ่งจะมีภรรยา บุรุษผู้นั้นพอใจนางกุมารีเด็กน้อยผู้หนึ่ง จึงให้คนติดสอยเข้าไป
ขอต่อบิดามารดานางกุมารีนั้น บิดามารดาทางกุมารีนั้น เห็นว่าบุรุษผู้นั้นมีอัธยาศัยดี ก็ยิน
ยอมยกให้บุรุษนั้น สุงฺกํ ทตฺวา บุรุษนั้นได้ให้ข้นหมากหมั้นแล้ว ตัวนั้นก็ลาไปสู่สถาน
ประเทศอันไกล อปเรน สมเยน ครั้นสมัยกาลนานมา ส่วนว่านางกุมารีนั้นก็จำเริญรุ่นขึ้นมา บิดา
มารดาจึงยกให้มีสามีอื่น กระทำการวิวาทมงคลมีขันหมากรากพลูอยู่ด้วยกัน อิตโร อาคนฺตฺวา
สามีเดิมจึงมาว่ากับบุรุษสามีทีหลังว่า ท่านนี้พาภรรยาเราไปข้างไหน บุรุษสามีใหม่ เอววํเทยฺย
จึงว่าท่านมาขอกุมารีนี้เมื่อน้อย ท่านก็เป็นสามีนางกุมารีนี้เมื่อน้อยนั้น บัดนี้นางกุมารีนี้มิได้
เป็นภรรยาท่าน ด้วยนางกุมารีนี้มีวัยวัฒนาการรุ่นเป็นสาวใหญ่เป็นอื่นไป พ้นไปจากภรรยาท่าน
เราจึงมาขอต่อบิดามารดา บิดามารดายกให้แก่เรา สุงฺกํ ทตฺวา เราก็ได้ให้ขันหมากรากพลู
แก่บิดามารดา บิดามารดาก็กระทำการวิวาหมงคล ให้อยู่กินด้วยกัน นางกุมารีนี้จะได้เป็น
ภรรยาท่านหามิได้ ถ้าว่าสามีเดิมกับสามีใหม่นี้จะเป็นความกันไป ใครจะแพ้ใครจะชนะ
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากรมีสุนทรวาจาตรัสว่า สามีใหม่นั้นแพ้แหละ พระ
ผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถามเล่าว่า สามีใหม่จะปราชัยแก่สามีเก่าด้วยเหตุอย่างไรเล่า
อ้อ ผู้เป็นเจ้า สามีเก่าเขาได้มาหมั้นขันหมากรากพลูสู่ขอบิดามารดาหญิง บิดามารดา
หญิงได้ยอมยกให้ยกปันก่อน ถึงว่าจะยังไม่สังวาสด้วยกันก็ดี กฎหมายท่านว่าเป็นกรรมสิทธิ์
อยู่กับผู้นั้น เหตุด้วยบิดามารดายกให้ และสามีใหม่ชอบจะให้ปรับไหม อนึ่ง และคำสามีใหม่
ซึ่งจะติดใจว่า นางกุมารีนั้นโตใหญ่เป็นอื่นไป และจะมีคำติดใจให้ใส่บทหารือบท จะได้ขึ้นหามิได้
คงจะต้องปรับไหมชายนั้นโสดเสมือนโทษผิดภรรยาท่าน
นี่แหละบพิตรพระราชสมภาร ซึ่งคำสามีใหม่ให้การว่าเดิมนางกุมารีนี้ยังน้อยอยู่ ครั้น
เติบโตใหญ่ก็เป็นอื่นไป และสามีใหม่ให้การฉะนี้โสด โทษไม่พ้นตัวฉันใด บุคคลกระทำ
บาปกรรมในนามรูปที่เกิดมานี้ ถึงจะใกล้ตายรูปธรรมนามธรรมจะแปรปรวนเป็น อนิจฺจํ อญฺญํ
จะเป็นอื่นไป จะปฏิสนธิเกิดใหม่ รูปธรรมนามธรรมเป็นอื่นไปแล้ว บาปกรรมที่ทำไว้จะได้พ้นหามิได้
เมื่อเราท่านทั้งหลายยังมิลุล่วงเข้าสู่ศิวาลัยไปนิพพานเมื่อใด ผู้ที่ทำบาปกรรมไว้นั้น จะนิราศ

คลาดแคล้วแล้วกันไปหามิได้ มีอุปไมยเหมือนางกุมารีน้อย ถึงจะมีรูปร่างรุ่นราวเป็นสาวใหญ่
อย่างไรก็ดี ที่จะพ้นสามีเดิมไปหามิได้ ขอบพิตรพระราชสมภารจงทราบในพระราชสันดาน
ด้วยประการดังนี้
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า อาราธนานิมนต์พระ
ผู้เป็นเจ้าอุปมาอุปไมยให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไป ให้โยมสิ้นสงสัยก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า โกจิเทว ปุริโส ยังมีบุรุษผู้หนึ่งไปซื้อน้ำนมโคกับ
นายโคบาล นายโคบาลก็ตวงน้ำนมใส่หม้อให้บุรุษผู้นั้น บุรุษผู้นั้นจึงเอาหม้อน้ำนมฝากนาย
ต้องแสงพระสุริย์ศรีสาย ก็กลับกลายเป็นทธิไป ครั้นบุรุษผู้นั้นรำลึกขึ้นได้ จึงไปสู่สำนักนาย
โคบาล จึงว่ากับนายโคบาลว่าข้ามาหาท่านาจะเอาของที่ฝากไว้ ตํ ทสฺเสยฺย นายโคบาลจึงว่า
ท่านนี้ลืมไปหรืออย่างไร ว่าแล้วก็ส่งหม้อน้ำนมนั้นให้ อิตโร เอวํ วเทยฺย บุรุษผู้นั้นจึงว่าแก่
นายโคบาลว่า วานนี้ท่านตวงน้ำนมโคให้แก่เรา เราฝากท่านไว้ ก็เหตุไฉนท่านจึงเอาทธิมาให้แก่เรา
เราไม่เอา นายโคบาลว่าเราจะได้เอาทธิอื่นให้ท่านหามิได้ ทธินี้ใช่อื่นคือน้ำนมนั่นแหละ ค้างอยู่
เป็นคืนหนึ่งแล้วก็กลายเป็นทธิไป บุรุษผู้นั้นไม่เอา นี่แหละบพิตรพระราชสมภารเจ้า คำคนทั้ง
สองที่วิวาทกันฉะนี้ จะจริงข้างใคร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นธรณีจึงตรัสวินิจฉัยว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คำคนทั้งสองซึ่งวิวาท
กันนี้ จริงข้างคำนายโคบาล
พระนาคเสนจึงว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเป็นเหตุไฉนเล่าจึงจริงข้างคำนายโคบาล
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า บุรุษผู้นั้นลืมน้ำนมไว้ค้างคืน น้ำนมนั้นก็กลายเป็น
อื่นไป จะเป็นทธิอื่นหามิได้ น้ำนมนั่นแหละกลายเป็นทธิ นะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนถวายพระพรว่า น้ำนมนี้กลายเป็นอื่นไปฉันใดก็ดี รูปธรรมนามธรรมนี้
ของสัตว์ผู้ใด มรณนฺติกํ เมื่อใกล้ตายกลายเป็นอื่น ถึงจะจุติเกิดเป็นรูปธรรมนามธรรมอันอื่นก็ดี
แล้วจะจุติปฏิสนธิต่อไปอีกเท่าใดก็ดี จะได้พ้นจากบาปกรรมที่ตนกระทำไว้แต่นามรูปเดิมหามิได้
เหตุว่านามรูปเดิมนั้นถึงจะเป็นอื่นไป จะเป็นมนุษย์เดียรัจฉานประการใดก็ดี นามรูปเดิมนั้น
เปรียบดุจน้ำนมนางโคค้างคืนกลายเป็นอื่นๆ ไป คือเป็นสัปปิ นวนีตะ ทธิไป ก็อาศัยน้ำนมนาง
โคนั้นแปรกลับกลายไป ขอบพิตรจงทราบพระทัยด้วยประการดังนี้

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นธรณีพระองค์ได้ทรงฟังอุปมานี้ มีพระราชโองการตรัสว่า สธุสะ
พระผู้เป็นเจ้าว่านี้สมควรแล้ว
นามรูปปฏิสันธิคหณปัญหา คำรบ 6 จบเท่านี้

ปุนปฏิสันธิคหณปัญหา ที่ 7


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต
นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจะปฏิสนธิเกิดอีกหรือหามิได้
พระนาคเสนถวายพระพรแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ถ้าว่าอาตมามีอุปทานอยู่ก็จะเกิดใหม่ อนุปาทาโน ถ้าว่าอาตมาหาเชื้อตัณหามิได้ ก็ไม่
ปฏิสนธิเกิดอีกต่อไป ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลนคร จึงมีสุนทรพจนารถประภาษว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า
อุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปาน
ดุจราชบุรุษข้าไพร่ฟ้าฝ่าละอองธุลีพระบาท แห่งบรมกษัตราธิราชผู้หนึ่งนั้น หมั่นภักดี
อุตสาหะกระทำราชการ สมเด็จรมกษัตราธิราชก็ประทารรางวัลทาสกรรมกรผ้าผ่อนเงินทอง
ให้แก่ผู้นั้น และราชบุรุษนั้นได้รับพระราชทานรางวัลฉะนี้ก็ปรีดา บริโภคกามคุณ 5 สบาย บุรุษ
ผู้นั้นจะบอกคนทั้งหลายหรือว่า สมเด็จบรมกษัตริย์ชิงชังหาประทานรางวัลไม่ บุรุษผู้นั้นจะบอก
ได้หรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสว่า บุรุษผู้นั้นมิอาจจะบอกได้
พระนาคเสนจึงว่า ความนี้ไซร้ฉันใดก็ดี อาตมานี้มิอาจจะออกปากได้ อนึ่งบพิตรเล่าก็
ไม่ควรที่จะถาม ถามเพื่อประโยชน์สิ่งไร ปติกิจฺเจว ดังอาตมาจะสำแดงบอกนัยให้แจ้งพระทัย
สอุปาทาโน ถ้าอาตมายังประกอบด้วยเชื้อตัณหา อาตมาก็จะปฏิสนธิเกิดมาใหม่ อนุปาทาโม
ถ้าอาตมาหาเชื้ออุปาทานมิได้ ไม่มีเชื้อตัณหา อาตมาก็จะไม่ปฏิสนธิต่อไป